พอเพียง! พล.ต.อ.เพิ่มพูน แนะแก้ปัญหาหนี้ครู มี20ก็ใส่ 20 ไม่มีเงินใส่ซองก็ช่วยล้างจาน

Author:

 จากการประชุมมอบนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 14 กันยายน 2566  ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในช่วงหนึ่ง  พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้เอ่ยถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ยกตัวอย่าง ต้องแก้ค่านิยมเรื่องนี้ต้องอยู่แบบพอเพียง เช่นมี 20 ก็ใส่ 20 ไม่มีเงินก็ไม่เป็นอะไร ไปงานเขาก็ไปช่วยเขาล้างจาน

พล.ต.อ.เพิ่มพูน แนะแก้ปัญหาหนี้ครู  ใส่ซอง20 ไม่มีเงินใส่ซองก็ช่วยล้างจาน

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงตนและปลูกฝังครูบรรจุใหม่ หวังแก้ไขปัญหาหนี้ครู แนะ ให้รู้จักออม รู้จักใช้เงิน พร้อม กล่าวถึงแก้ไขปัญหาหนี้สินครูว่า  ถือเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลจะเข้าไปแก้ไข โดยในเรื่องนี้ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการให้ความรู้

พล.ต.อ.เพิ่มพูน แนะแก้ปัญหาหนี้ครู  ใส่ซอง20 ไม่มีเงินใส่ซองก็ช่วยล้างจาน

ทั้งในส่วนภายในกระทรวงศึกษาธิการและจากวิทยากรภายนอก มาแนะนำครูให้รู้จักออม รู้จักใช้เงิน และใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงตนและปลูกฝังครูบรรจุใหม่ให้เห็นในจุดนี้

พล.ต.อ.เพิ่มพูน แนะแก้ปัญหาหนี้ครู  ใส่ซอง20 ไม่มีเงินใส่ซองก็ช่วยล้างจาน

ยกตัวอย่างเรื่องความเป็นหน้าเป็นตาของครูในชนบทเมื่อไปงานแต่งงาน ต้องใส่ซอง 200 บาท แต่ตำรวจโชคดีหน่อยใส่ 20 บาทก็ได้ไม่เป็นอะไร ต้องแก้ค่านิยมเรื่องนี้ต้องอยู่แบบพอเพียง เช่นมี 20 ก็ใส่ 20 ไม่มีเงินก็ไม่เป็นอะไร ไปงานเขาก็ไปช่วยเขาล้างจาน

ซึ่งสมัยที่ยังอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีปรัชญาในการแก้ปัญหาหนี้สินตำรวจคือ ‘ไม่เบี้ยว ไม่หนี ไม่มี ไม่จ่าย ไม่ตาย’ พร้อมกับยกตัวอย่างว่า ตำรวจมักชอบฆ่าตัวตายเมื่อมีหนี้สิน

“ผมบอกเสมอว่าอย่าตาย ตายไปแล้วจะเป็นอย่างไร คนอื่นเขาจะอยู่อย่างไร ถ้าเขาตาย คุณจะใส่ซองเท่าไร คุณมาช่วยเพื่อนร่วมงานก่อนดีไหม ให้ตอนนี้เลย ตายไปแล้วไม่ได้หรอก ก็ช่วยกัน ก็ช่วยแก้ปัญหา มีหลายรายที่แก้ปัญหาแล้ว ก็บอกว่าอับจนด้วยปัญญาจริงๆ ก็ฆ่าตัวตาย

ผมเชื่อว่าครูก็ไม่ต่างจากตำรวจที่อยากฆ่าตัวตาย แต่โชคดีที่ครูไม่มีปืนอยู่ใกล้ตัว ก็เลยไม่ฆ่าตัวตาย ไม่ฆ่าตัวตายดีแล้ว ก็ต้องช่วยกัน”

ในเชิงนโยบายจะแบ่งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูออกเป็นหมวดหมู่ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง สีเขียวคือครูที่มีสภาพคล่อง สีเหลืองคือครูที่มีหนี้บ้างเล็กน้อย และสีแดงคือเป็นหนี้เสีย อาจถูกฟ้องล้มละลาย ซึ่งหลังจากนี้ในส่วนของครูที่มีหนี้จำนวนมาก ต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับเจ้าหนี้ ลดหย่อนหนี้ และอาจ พักหนี้ ให้กับครู รวมถึงเปิดโอกาสให้ครูได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ที่เป็นภาระกับครูน้อยที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *